27 พ.ย. 2551

โรค และแมลง ของตะกูยักษ์

โรค และแมลง ของตะกูยักษ์
ที่ผ่านมายังไม่มีรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงกรณีที่ต้นตะกูมี อายุได้ 5 ปี เพื่อให้ต้นตะกูมีคุณภาพควรตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูที่เหลือมีการเจริญเติบโตในด้านความหนาของลำต้น และความแข็งแรงของเนื้อไม้ โดยเฉพาะคุณภาพเนื้อไม้ของต้นตะกูจะมีคุณภาพใกล้เคียงกับไม้สักทองคุณสมบัติ ต้นตะกู เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ โตเร็วมาก มีเนื้อไม้ที่ละเอียดแน่นไม่บิดงอง่าย มีน้ำหนักใกล้เคียงกับไม้สักแต่จะเบากว่าเล็กน้อย อายุ 5 ปีขึ้นไป สามารถแปรรูปทำเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลาย เช่น เก้าอี้ โซฟา โต๊ะ พื้นกระดาน ฝาบ้าน กล่อง เครื่องดนตรี ด้ามปืน เรือขุด ลังใส่ของคุณสมบัติพิเศษ คือ ปลูกง่าย โตเร็ว หากมีอายุ 2 ปีขึ้นไป จะทนต่อภาวะน้ำท่วมและไฟป่า สำคัญปลวกมอดไม่กิน
คำต่อคำ สนทนาประสาสมัคร ประจำวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551
ท่านนายกพูดหลายเรื่อง ขออนุญาติตัดมาเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับต้นตะกูนะครับ
ปลูกไม้ตะกูทำเฟอร์นิเจอร์
ที นี้คุยเรื่องต้นไม้ต้นนี้ต้นเดียว ก็ยังมีอีกต้นหนึ่งชื่อต้นตะกู แถวนครปฐมก็มี เขาเรียกเจ้าพ่อวังตะกู ต้นตะกูเป็นไม้ประหลาด เพาะขึ้นมาจากเมล็ดเหมือนกัน ต้นไม้ขึ้นมามีใบใหญ่เหมือนใบสัก ต้นไม้คล้ายต้นสัก แต่โตเร็วมาก 1 ปีสูง 7-8 เมตร และขึ้นตรงชะลูดเหมือนต้นสัก ถ้าเผื่อต้นไม้อายุ 10 ปี เอาเด็กไปโอบ 2-3 คนโอบรอบ ดูแล้วไม่น่าเชื่อ เขาถ่ายรูปมาด้วยครับ เขาบอกว่าเนื้อคล้ายไม้สัก และมอดไม่กินเหมือนไม้สัก มีความทนทานเอาไปทำเครื่องมือ เฟอร์นิเจอร์ ใช้แทนไม้สัก ปลูกไม้เอาเนื้อ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เรียนให้ทราบว่าเมื่อเราเข้ามามีต้นไม้ ต้นไม้นี้ออกข่าวเมื่อเดือนพฤศจิกายนเมื่อปีที่แล้ว 3 เดือนเท่านั้นเอง ผมก็เอามาช่วยคุยให้ เพราะอะไร ใครมีที่ ใครจะปลูก ปลูกได้ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ปลูกได้ทุกดิน ดีและทนทาน คล้ายไม้สักแต่ราคาไม่แพง แล้วโตเร็วมาก ไม้สักต้องใช้ 30 ปีถึงตัด 40 ปียิ่งดี นี่ 10 ปีตัดไม้ ตัดไม้เท่ากับต้นซุง เท่ากับไม้สัก ต้น 1 ปีสูง 7-8 เมตร

2 พ.ย. 2551

การปลูกต้นตะกูแบบสมบูรณ์

การปลูกต้นตะกูแบบสมบูรณ์

ต้น ตะกูแต่ละสายพันธุ์ จะมีลักษณะดอกและใบที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยและมีทั้งสายพันธุ์ที่โตเร็วโต ช้าแตกต่างกัน บางสาย พันธุ์ก็เติบโตได้แต่เฉพาะในที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์ก็สามารถเติบโตได้ทั้งที่ใกล้น้ำ
และที่แล้ง การลงทุนปลูกูต้องเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตเร็วและจะให้ดีควรเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่
เช่นตะกู ก้านแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทางเราแนะนำ เนื่องจากมีการวิจัยและคัดเลือกสายพันธุ์มาแล้ว ต้นกล้าที่ได้
จะเป็นต้นพันธุ์คุณภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งไม้ที่คุ้มค่าสร้างผลกำไรที่แน่นอนต่อผู้ปลูก
- ปลูกด้วยกล้าพันธุ์ ที่ผ่านขั้นตอนการเพาะกล้าอย่างถูกวิธี สูงประมาณ 3 นิ้ว
ควรปลูกต้นฤดูฝน (ถ้าไม่มีแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง)
- ระยะปลูก 2 x 4 ม. ปลูกได้ประมาณไร่ล่ะ 200 ต้น (เหมาะสำหรับปลูกพืชแซมเช่น ข้าวโพด,มันสำปะหลัง,
มะระกอ หรือพืชที่ให้ผลตอบแทนระยะสั้น ต้นตะกูจะได้น้ำและปุ๋ยด้วย การเจริญเติมโตจะสมบูรณ์มาก)
- ระยะปลูก 4 x 4 ม. ปลูกได้ประมาณไร่ล่ะ 100 ต้น (ปลูกแล้วดูแลน้อยมาก หรือจะปลูกพืชแซมจะดีมาก)
- ขุดหลุมกว้าง 30 x 30 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร (พื้นที่ลูกรังควรขุดหลุมกว้าง 40 x 40 ลึก 40 เซนติเมตร)
- ควรขุดหลุมตากแดดทิ้งไว้สักระยะ เพื่อฆ่าเชื้อ
- ควรใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ สูตรพิเศษ คลุกกับดิน หลุมละ 250-300 กรัม
- ขณะนำต้นตะกูลงปลูกให้ระมัดระวังในขณะฉีกถุง อย่าให้ดินในถุงแตก
- หลังจากนั้นกลบดินให้แน่น อย่าให้เป็นแอ่งน้ำขังบริเวณหลุมปลูก และใช้ไม้ค้ำขวางลมผูกเชือกยึดติดกับไม้ค้ำ
เพื่อป้องกันต้นล้ม
- ระยะตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึง 4-5 เดือน ควรดูแลรดน้ำสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ต้นกล้าไม่ชะงักการเจริญเติบโต
การใส่ปุ๋ย
ปีที่ 1
- หลังจากปลูก 1 เดือน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 300 กรัม
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม
ปีที่ 2
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 350-400
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม
ปีที่ 3-5
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม
ปีที่ 6 ขึ้นไป ให้ตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูมีขนาดที่ใหญ่ออกทางด้านข้าง และมีเนื้อไม้ที่แข็งแรงการใส่ปุ๋ย
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม
การ ดูแลรักษา นอกจากการใส่ปุ๋ยตามที่กำหนด สิ่งที่ควรระมัดระวังในระยะเริ่มปลูกปีที่1-2 ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย แพะ และแกะ ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช เข้าไปในแปลงปลูกต้นตะกู เพราะอาจเข้าไปกินใบต้นตะกูได้ และอาจทำความเสียหายได้ถึง 70%

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน