27 พ.ย. 2551

โรค และแมลง ของตะกูยักษ์

โรค และแมลง ของตะกูยักษ์
ที่ผ่านมายังไม่มีรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงกรณีที่ต้นตะกูมี อายุได้ 5 ปี เพื่อให้ต้นตะกูมีคุณภาพควรตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูที่เหลือมีการเจริญเติบโตในด้านความหนาของลำต้น และความแข็งแรงของเนื้อไม้ โดยเฉพาะคุณภาพเนื้อไม้ของต้นตะกูจะมีคุณภาพใกล้เคียงกับไม้สักทองคุณสมบัติ ต้นตะกู เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ โตเร็วมาก มีเนื้อไม้ที่ละเอียดแน่นไม่บิดงอง่าย มีน้ำหนักใกล้เคียงกับไม้สักแต่จะเบากว่าเล็กน้อย อายุ 5 ปีขึ้นไป สามารถแปรรูปทำเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลาย เช่น เก้าอี้ โซฟา โต๊ะ พื้นกระดาน ฝาบ้าน กล่อง เครื่องดนตรี ด้ามปืน เรือขุด ลังใส่ของคุณสมบัติพิเศษ คือ ปลูกง่าย โตเร็ว หากมีอายุ 2 ปีขึ้นไป จะทนต่อภาวะน้ำท่วมและไฟป่า สำคัญปลวกมอดไม่กิน
คำต่อคำ สนทนาประสาสมัคร ประจำวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551
ท่านนายกพูดหลายเรื่อง ขออนุญาติตัดมาเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับต้นตะกูนะครับ
ปลูกไม้ตะกูทำเฟอร์นิเจอร์
ที นี้คุยเรื่องต้นไม้ต้นนี้ต้นเดียว ก็ยังมีอีกต้นหนึ่งชื่อต้นตะกู แถวนครปฐมก็มี เขาเรียกเจ้าพ่อวังตะกู ต้นตะกูเป็นไม้ประหลาด เพาะขึ้นมาจากเมล็ดเหมือนกัน ต้นไม้ขึ้นมามีใบใหญ่เหมือนใบสัก ต้นไม้คล้ายต้นสัก แต่โตเร็วมาก 1 ปีสูง 7-8 เมตร และขึ้นตรงชะลูดเหมือนต้นสัก ถ้าเผื่อต้นไม้อายุ 10 ปี เอาเด็กไปโอบ 2-3 คนโอบรอบ ดูแล้วไม่น่าเชื่อ เขาถ่ายรูปมาด้วยครับ เขาบอกว่าเนื้อคล้ายไม้สัก และมอดไม่กินเหมือนไม้สัก มีความทนทานเอาไปทำเครื่องมือ เฟอร์นิเจอร์ ใช้แทนไม้สัก ปลูกไม้เอาเนื้อ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เรียนให้ทราบว่าเมื่อเราเข้ามามีต้นไม้ ต้นไม้นี้ออกข่าวเมื่อเดือนพฤศจิกายนเมื่อปีที่แล้ว 3 เดือนเท่านั้นเอง ผมก็เอามาช่วยคุยให้ เพราะอะไร ใครมีที่ ใครจะปลูก ปลูกได้ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ปลูกได้ทุกดิน ดีและทนทาน คล้ายไม้สักแต่ราคาไม่แพง แล้วโตเร็วมาก ไม้สักต้องใช้ 30 ปีถึงตัด 40 ปียิ่งดี นี่ 10 ปีตัดไม้ ตัดไม้เท่ากับต้นซุง เท่ากับไม้สัก ต้น 1 ปีสูง 7-8 เมตร

2 พ.ย. 2551

การปลูกต้นตะกูแบบสมบูรณ์

การปลูกต้นตะกูแบบสมบูรณ์

ต้น ตะกูแต่ละสายพันธุ์ จะมีลักษณะดอกและใบที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยและมีทั้งสายพันธุ์ที่โตเร็วโต ช้าแตกต่างกัน บางสาย พันธุ์ก็เติบโตได้แต่เฉพาะในที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์ก็สามารถเติบโตได้ทั้งที่ใกล้น้ำ
และที่แล้ง การลงทุนปลูกูต้องเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตเร็วและจะให้ดีควรเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่
เช่นตะกู ก้านแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทางเราแนะนำ เนื่องจากมีการวิจัยและคัดเลือกสายพันธุ์มาแล้ว ต้นกล้าที่ได้
จะเป็นต้นพันธุ์คุณภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งไม้ที่คุ้มค่าสร้างผลกำไรที่แน่นอนต่อผู้ปลูก
- ปลูกด้วยกล้าพันธุ์ ที่ผ่านขั้นตอนการเพาะกล้าอย่างถูกวิธี สูงประมาณ 3 นิ้ว
ควรปลูกต้นฤดูฝน (ถ้าไม่มีแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง)
- ระยะปลูก 2 x 4 ม. ปลูกได้ประมาณไร่ล่ะ 200 ต้น (เหมาะสำหรับปลูกพืชแซมเช่น ข้าวโพด,มันสำปะหลัง,
มะระกอ หรือพืชที่ให้ผลตอบแทนระยะสั้น ต้นตะกูจะได้น้ำและปุ๋ยด้วย การเจริญเติมโตจะสมบูรณ์มาก)
- ระยะปลูก 4 x 4 ม. ปลูกได้ประมาณไร่ล่ะ 100 ต้น (ปลูกแล้วดูแลน้อยมาก หรือจะปลูกพืชแซมจะดีมาก)
- ขุดหลุมกว้าง 30 x 30 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร (พื้นที่ลูกรังควรขุดหลุมกว้าง 40 x 40 ลึก 40 เซนติเมตร)
- ควรขุดหลุมตากแดดทิ้งไว้สักระยะ เพื่อฆ่าเชื้อ
- ควรใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ สูตรพิเศษ คลุกกับดิน หลุมละ 250-300 กรัม
- ขณะนำต้นตะกูลงปลูกให้ระมัดระวังในขณะฉีกถุง อย่าให้ดินในถุงแตก
- หลังจากนั้นกลบดินให้แน่น อย่าให้เป็นแอ่งน้ำขังบริเวณหลุมปลูก และใช้ไม้ค้ำขวางลมผูกเชือกยึดติดกับไม้ค้ำ
เพื่อป้องกันต้นล้ม
- ระยะตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึง 4-5 เดือน ควรดูแลรดน้ำสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ต้นกล้าไม่ชะงักการเจริญเติบโต
การใส่ปุ๋ย
ปีที่ 1
- หลังจากปลูก 1 เดือน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 300 กรัม
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม
ปีที่ 2
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 350-400
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม
ปีที่ 3-5
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม
ปีที่ 6 ขึ้นไป ให้ตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูมีขนาดที่ใหญ่ออกทางด้านข้าง และมีเนื้อไม้ที่แข็งแรงการใส่ปุ๋ย
- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม
- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม
การ ดูแลรักษา นอกจากการใส่ปุ๋ยตามที่กำหนด สิ่งที่ควรระมัดระวังในระยะเริ่มปลูกปีที่1-2 ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย แพะ และแกะ ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช เข้าไปในแปลงปลูกต้นตะกู เพราะอาจเข้าไปกินใบต้นตะกูได้ และอาจทำความเสียหายได้ถึง 70%

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

24 ต.ค. 2551

ต้นตะกู เป็นไม้ที่ขึ้นได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย

ต้นตะกู
เป็นไม้ที่ขึ้นได้ทุก พื้นที่ของประเทศไทย ส่วนมากจะขึ้นอยู่ตามป่าริมห้วยและที่เป็นเขาหรือบริเวณบ้าน เป็นไม้ที่ปลูกง่าย โตเร็ว หากมีอายุ 2 ปี ขึ้นไป จะทนต่อสภาวะน้ำท่วมและโดนไฟป่าไม่ตาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่อ อื่นๆ : กรองประหยัน (ยะลา); กระทุ่มบก (กรุงเทพ); โกหว่า (ตรัง); แคแสง (ชลบุรี); ตะกู (จันทนบุรี, นครศรีธรรมราช, สุโขทัย); ตะโกส้ม (ชัยภูมิ, ชลบุรี); ตุ้มก้านซ้วง, ตุ้มก้านยาว, ตุ้มเนี่ยง, ตุ้มหลวง (ภาคเหนือ); ตุ้มขี้หมู (ภาคใต้); ตุ้มพราย, ทุ่มพราย (ขอนแก่น)
ลักษณะ : เป็นไม้ขนาดใหญ่ สูง 15 – 30 เมตร กิ่งออกเกือบตั้งฉากกับลำต้น แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนนุ่มสั้นอยู่ด้านล่าง หูเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกแน่น กลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 5 ซ.ม.ก้านช่อยาว 3 – 4 ซ.ม. ดอกเล็กอัดกันแน่น กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสั้น กลีบดอกสีเหลือง เชื่อมกันเป็นหลอดยาวรูปดอกเข้ม ผลเป็นกระจุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาลเมื่อแก่ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ตามหุบเขาหรือริมลำธาร ต้นตะกูอาจจะไม่คุ้นหู เพราะใกล้สูญพันธ์ในประเทศไทยแล้ว ต้นตะกูยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนต่อความแห้งแล้ง ปลูกง่าย โตเร็ว เพียงแต่ช่วง 1 – 3 เดือนต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ต้นตะกูเริ่มมีการปลูกบ้างแล้วในหลายพื้นที่ และน่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร หรือนักลงทุน ได้ไม่น้อยกว่า ไม้สัก ยางพารา หรือยูคาลิปตัส
การกระจาย พันธ์และนิเวศวิทยา : จากอินเดีย จนถึงมาเลเซีย พบขึ้นตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นใกล้น้ำ ที่ระดับความสูง 500-1500 เมตร
ประโยชน์ : เนื้อไม้ละเอียด สีเหลืองหรือขาว ใช้ทำพื้นและฝาที่ใช้งานในร่ม และทำเยื่อกระดาษได้
ข้อมูลจากเอกสาร : 3, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden
ปลูกแล้วได้อะไร
1 ไร่ ปลูก 200 ต้น ขายได้ต้นละ 2,000 – 3,000 บาท (ไม้อายุ 5 ปี ขายเข้าโรงงานไม้แปรรูป)
5 ปี = 200 x 2,000 =400,000 บาท /ไร่
3 ปีต่อมา = ตัดตอ 2 ขายได้ต้นละ 600 –700 = 200 x 300 = 60,000 บาท/ไร่
ถ้าได้ราคาอย่างนี้ รับรองเป็นเศรษฐีกันทั่วหน้าครับ

(ท่าน อาจจะฝันหวานไปหรือเปล่า ) ถ้าขายไม่ได้ราคาอย่างที่กล่าวไว้ อย่างน้อยขายได้เท่ากับราคาไม้ที่ไม่มีราคา เช่น ไม้ขนุน,ไม้มะขามเทศ,ไม้งิ้ว หรือไม้เนื้ออ่อนต่าง ๆ เขารับซื้อเป็นตัน ๆ ละ 600 -700 บาท ไม้อายุ 5 ปี ต้นละไม่ต่ำกว่า 1 ตัน ส่วนไม้ตอ 2 ใน 1 ตอมีหลายต้น อายุ 3 ปี จะได้ประมาณ 2 ต้นต่อ 1 ตัน ลองมาคิดดูนะครับ
ลองมาคิดดูแบบว่าพอใช้ได้ ขายเพื่อไปทำกระดาษ ราคาเท่าไม้ยูคา ตันละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท
5 ปี = 200 x 1,000 = 200,000 บาท /ไร่
3 ปีต่อมา = ตัดตอ 2 = 200 x 500 = 100,000 บาท/ไร่

ลองมาคิดดูแบบว่า แย่ที่สุดแล้วนะครับ ขายเป็นแบบไม้เนื้ออ่อนราคาถูกครับ ตันละ 600 – 700 บาท
5 ปี = 200 x 600 = 120,000 บาท/ไร่
3 ปีต่อมา = ตัดตอ 2 ขายได้ต้นละ 600 –700 = 200 x 300 = 60,000 บาท/ไร่

ยังไงก็ยังคุ้มกับการลงทุนนะครับ ถ้าท่านสามารถปลูกพืชแซมที่ให้ผลระยะสั้น ก็จะได้กำไรเพิ่มขึ้นอีกครับ
ถ้าท่านไม่ปลูกพืชแซมเอง ให้คนอื่นปลูกในแปลงของท่าน ท่านก็จะประหยัดค่าแรงงานและค่าปุ๋ยลงไปอีก